Issuing bank

วันนี้เราจะมาคุยเรื่อง “Issuing bank” กันครับ

UCP600 ระบุว่า

“Issuing bank means the bank that issues a credit

at the request of an applicant or on its own behalf”

สรุปว่า หมายถึง ธนาคารผู้เปิด L/C

(ตามคำร้องขอของ Applicant หรือ เปิดเพื่อตัวธนาคารนั้นๆเอง)

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า Issuing bank ถูกระบุไว้ในส่วนใดของ L/C ?

อ่านเพิ่มเติม “Issuing bank”

Beneficiary

** 59 BENEFICIARY

:59: P-PIG CO., LTD.

456 P-PIG BUILDING,

P-PIG ROAD, TURLAND

 

คำว่า “Beneficiary” นั้น UCP600 ระบุความหมายของคำๆนี้ไว้ว่า

“Beneficiary means the party in whose favor a credit is issued”

แปลว่า “ผู้รับประโยชน์ตามเครดิต”

แปลใหม่ให้ง่ายก็คือ “ผู้ที่จะได้รับการจ่ายเงิน” ซึ่งก็คือผู้ขายนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม “Beneficiary”

Applicant (Part 2/2)

หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วใครจะเป็นคนจ่ายเงินให้ผู้ขายล่ะ ?

และใบกำกับราคาสินค้า (Invoice) จะออกอย่างไร ?

ต้องแยกเป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ

คือเรื่องการจ่ายเงิน กับ เรื่องการออกเอกสาร Invoice

 

เรื่องการจ่ายเงิน

ธนาคารผู้ออก L/C (Issuing Bank) จะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย

(เป็นไปตามหลักการของวิธีการชำระเงินภายใต้ L/C)

 

ส่วนเรื่องการออกเอกสาร Invoice นั้น UCP600 ระบุไว้ว่า

อ่านเพิ่มเติม “Applicant (Part 2/2)”

Applicant (Part 1/2)

** 50 APPLICANT

:50: FAT PIG CO., LTD.

123 FAT PIG BUILDING,

FAT PIG ROAD, AOODLAND

 

คำว่า “Applicant” นั้น UCP600 ระบุความหมายของคำๆนี้ไว้ว่า

“Applicant means the party on whose request the credit is issued”

จากเรื่องราวการซื้อขายระหว่างหมูอ้วน(ผู้ซื้อ) และ หมูพี(ผู้ขาย)

กรณีแบบนี้เป็นการค้าแบบตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน หมายความว่า การซื้อการขายเกิดขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง

เราจะเห็นว่ากรณีแบบนี้ผู้ซื้อก็จะเป็นผู้ร้องขอเปิด L/C และก็จะถูกระบุว่าเป็น Applicant ใน L/C

แล้วทำไมถึงใช้คำว่า “Applicant” ทำไมไม่ใช้คำว่า Buyer

หรือคำอื่นๆ เช่น Importer, Customer หรือ Producer ฯลฯ ล่ะ ?

มาดูเหตุการณ์นี้กัน

อ่านเพิ่มเติม “Applicant (Part 1/2)”

Applicable rules

** 40E APPLICABLE RULES

:40E:UCP LATEST VERSION

Field40E นี้ สำหรับระบุว่า จะนำกฎใดมาบังคับใช้ ซึ่ง L/C ฉบับนี้ระบุเป็น UCP LATEST VERSION

นั่นก็หมายความว่า L/C ฉบับนี้ถูกระบุว่า ให้นำ UCP600 มาบังคับใช้นั่นเอง

เพราะ UCP600 คือ UCP ฉบับล่าสุด ที่ถูกนำมาใช้กันอยู่ใน-ปัจจุบัน (UCP LATEST VERSION)

อ่านเพิ่มเติม “Applicable rules”

Form of documentary credit (Part 2/2)

** 40 FORM OF DOCUMENTARY CREDIT

:40A:IRREVOCABLE

บทความที่แล้ว (Part 1/2) ผมสรุปความหมายของคําว่า “Irrevocable” ไว้ว่า

ไม่สามารถแก้ไข หรือยกเลิกได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจาก Issuing Bank, Beneficiary และ Confirming Bank (ถ้ามี)

(เราจะข้ามความหมาย และกรณี Confirming Bank ไปก่อน เพราะมีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่จะมี Confirming Bank เข้ามาเกี่ยวข้อง)

การที่บอกว่าแปลให้ใกล้เคียง และสอดคล้องกับกฎUCP600โดยรวมนั้น เนื่องจากUCP600
ไม่ได้ระบุไว้ว่าคําๆนี้มีความหมายว่าอย่างไร แต่ UCP600 ระบุไว้ว่า การแก้ไขไม่สามารถทําได้ และยกเลิกก็ไม่ได้
หากไม่ได้รับความยินยอมจาก Issuing Bank, Beneficiary และ Confirming Bank(ถ้ามี)

(อันที่จริงกฎมีระบุข้อยกเว้นกรณี Transferable L/C ไว้ แต่เป็นคนละความหมายกันกับกรณีนี้
จึงไม่ขอกล่าวถึงข้อความดังกล่าว แล้วไว้ไปคุยกันในเรื่องTransferable L/C ต่างหากกันภายหลัง)

มาดูตัวอย่างกัน …

อ่านเพิ่มเติม “Form of documentary credit (Part 2/2)”

Form of documentary credit (Part 1/2)

** 40 FORM OF DOCUMENTARY CREDIT

:40A:IRREVOCABLE

Field 40A นั้น สมัยก่อนสามารถกําหนดได้ว่าเป็น “Irrevocable” หรือ “Revocable”

(สมัยที่นำ UCP500 มาบังคับใช้ ซึ่งเป็นกฎก่อนหน้า UCP600)

แต่ในปัจจุบันจะกําหนดเป็น “Irrevocable” เท่านั้น

(เนื่องจากปัจจุบัน เรานำ UCP600 มาบังคับใช้  แทน UCP500 กันแล้ว)

UCP600 ระบุว่า :

อ่านเพิ่มเติม “Form of documentary credit (Part 1/2)”

รูปแบบมาตรฐานของ L/C

จากเรื่องราวการซื้อขายระหว่างหมูอ้วนกับหมูพี เราได้ทราบกันแล้วว่า ธนาคารจะทำการเปิด L/C (Issue L/C)

ตามรายละเอียดในใบคำขอเปิด L/C (L/C Application)

ธนาคารผู้เปิด L/C (Issuing Bank) จะใช้ระบบของทาง S.W.I.F.T. ในการส่งข้อมูล L/C ระหว่างธนาคาร

ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆที่เรียกว่า “Field”

แต่ละ Field จะถูกใช้แสดงข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป

มาดูตัวอย่างกันดีกว่า :

อ่านเพิ่มเติม “รูปแบบมาตรฐานของ L/C”

L/C และ UCP 600 (บทนำ)

ก่อนที่เราจะคุยกันเรื่องรายละเอียดต่างๆใน L/C อยากเกริ่นให้รู้จักกับ UCP กันก่อน

“Uniform Customs and Practice for Documentary Credits, 2007 Revision, ICC Publication No. 600” หรือที่เรียกสั้นๆว่า “UCP” เป็น “กฏ” ที่ใช้กับ “Credit” ประเภทที่มีเอกสารเข้ามาเกี่ยวข้อง

UCP เป็นสิ่งพิมพ์ของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce)

ฉบับปัจจุบันคือ UCP600 มีผลในการนำมาใช้เมื่อ 1 July 2007 (ขอไม่ใช้คำว่า “มีผลบังคับใช้” เนื่องจาก UCP600 เป็น “กฏ” ที่ร่างขึ้นโดยหน่วยงานเอกชน ดังนั้นขึ้นอยู่กับผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายว่าจะนำมาใช้หรือไม่)

สงสัยกันไหมครับว่าทำไมถึงใช้คำว่า “Credit” แทนที่จะเป็น “L/C” หรือ ในเรื่องราวของหมูอ้วนกับหมูพี ก็มีการใช้คำว่า “Beneficiary” แทนที่จะเป็น “Seller” หรือการใช้คำว่า “Applicant” แทนที่จะเป็น “Buyer” ?

อ่านเพิ่มเติม “L/C และ UCP 600 (บทนำ)”