Partial Shipment (Part 3/3)

วันนี้มาต่อส่วนที่สองกันครับ

ก่อนอื่น เรามาทวนส่วนที่สองกันก่อน

ส่วนที่สองระบุว่า…..

“A presentation consists of one or more sets of transport documents evidencing shipment on more than one means of conveyance within the same mode of transport will be regarded as covering a partial shipment, even if the means of conveyance leave on the same day for the same destination.”

หมายความว่า…..

การยื่นเอกสารต่อธนาคาร เพื่อขอขึ้นเงินในแต่ละครั้ง
( “A presentation” )

“แม้ว่ามีการยื่นเอกสารการขนส่ง (เช่น B/L) มากกว่า 1 ฉบับ (1 set)”

หากเอกสารการขนส่ง แสดงข้อมูลว่า
การจัดส่งนั้น
1) ไม่ใช่พาหนะขนส่งเดียวกัน
แม้ว่าพาหนะขนส่งนั้นจะเป็น
รูปแบบการขนส่งเดียวกันก็ตาม
(evidencing shipment on
more than one means
of conveyance within
the same mode of transport)

ก็จะ “ถือว่าเป็น partial shipment”

แม้ว่า
พาหนะขนส่งที่ต่างกันนั้น จะออกเดินทางวันเดียวกัน และไปปลายทางเดียวกันก็ตาม
(even if the means of conveyance leave on the same day for the same destination)

มาดูตัวอย่างกันดีกว่า

สมมุติว่ามี B/L 2 ฉบับ

ฉบับแรก ระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
1) สินค้าถูกส่งโดยเรือ ชื่อว่า ไททาเนี่ยม
2) วันที่จัดส่งคือ 10 August 2010
3) ปลายทางคือท่าเรือ อู๊ดพอร์ท

ฉบับที่สอง ระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
1) สินค้าถูกส่งโดยเรือ ชื่อว่า เอี้ยมจุ้น
2) วันที่จัดส่งคือ 10 August 2010
3) ปลายทางคือท่าเรือ อู๊ดพอร์ท

จะเห็นว่า B/L 2 ฉบับนี้
ระบุข้อมูลข้อ 1 ต่างกัน
แม้ว่า 2, 3 จะตรงกัน

ก็จะ “ถือว่าเป็น partial shipment”

สรุป…แปลว่าหากพาหนะขนส่งต่างกัน อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง
เป็น partial shipment แน่นอน

แต่หากว่าพาหนะขนส่งเดียวกัน
ค่อยมาดูรายละเอียดอื่นกันต่อ

นี่คือเหตุผลที่ผมใช้คำว่า
“เข้าข่าย” / “เข้าข่ายไม่…”
เพราะตัวอย่างที่ยกให้ดู

https://letterofcreditblog.wordpress.com/…/partial-shipmen…/

เป็นเพียงภาพกว้างๆ ในความเข้าใจทั่วๆไป
ซึ่งยังต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ
ตามที่ได้อธิบายมาเสียก่อน
จึงจะสรุปได้ว่า
เป็น partial shipment หรือ
ไม่เป็น partial shipment

จบเรื่อง partial shipment แล้วครับ
พบกันใหม่คราวหน้า…

 

ใส่ความเห็น